Thursday, January 31, 2013

พาเที่ยว โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร


โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

TV_pra_01
ข้อมูลของร.พ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จาก วิกิพีเดียครับ
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดปราจีนบุรี และเป็นโรงพยาบาลนำร่องเรื่องการแพทย์แผนไทย ใช้สมุนไพรบำบัดรักษาโรค มีการนวด อบ ประคบ และฝังเข็ม แปรรูปสมุนไพรไทยเป็นเวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์
TV_pra_02
ในปี พ.ศ. 2452 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ว่าจ้าง บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน สร้างตึกเพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจะใช้เป็นที่ประทับแรมของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่พระองค์เสด็จมายังมณฑลปราจีนบุรีอีก แต่พระองค์เสด็จสรรคตเสียก่อนในปีพุทธศักราช 2453 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2455 ตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์อีกหลายพระองค์ ตึกหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 (พระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ ทรงมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร) และพระองค์ได้ประทานตึกหลังนี้ให้แก่ทางราชการ เมื่อปี พ.ศ. 2482 จนได้กลายมาเป็นตึกผู้ป่วยหลังแรก
TV_pra_03
ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 เมื่อพระองค์ได้นำเสด็จสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ไปประทับที่ประเทศอังกฤษ จึงประทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดนั้นแก่มณฑลทหารบกที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อใช้เป็น โรงพยาบาลปราจีนบุรี และได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2509 โดยมีสมเด็จเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้า สุวัทนา พระวรราชเทวี เสด็จฯมาทรงเปิดป้าย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พร้อมทั้งทรงรับโรงพยาบาลแห่งนี้ไว้ในพระอุปถัมภ์
เดิมตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเดิม เป็นตึกอำนวยการ ได้มีการดัดแปลงทำชั้นล่างเป็นห้องตรวจโรค ห้องจำหน่ายยา และห้องผ่าตัด ชั้นบนทำหน้าที่รับคนไขัหญิง โดยมีเรือนคนไข้ชายแยกต่างหาก มีเตียงรับคนไข้ 50 เตียง มีโรงประกอบอาหาร คนไข้ โรงซักฟอก ที่เก็บศพ เรือนพักคนงาน บ้านนายแพทย์ อย่างละ 1 หลัง บ้านพักพยาบาลอีก 3 หลัง การเข้าถึงโรงพยาบาล เข้าได้ทางเรือเพียงอย่างเดียว จนมีการสร้างถนนขึ้นในปี พ.ศ. 2486 จนถึงปี พ.ศ. 2512 ตึกอำนวยการในปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จ ส่วนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในการประชุมสัมมนาในบางกรณี
ในปี พ.ศ. 2533 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นโบราณสถานของชาติ ต่อมาได้มีการบูรณะตึกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 โดยงบประมาณของจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2.5 ล้านบาท และคุณป้าจรวย ประสมสน บริจาคสมทบอีก 100,000 บาท โดยมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรขึ้น”
TV_pra_04
เข้ามาในตึก โดยในตึกนี้ไม่มีการรักษานะครับ จะเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์
TV_pra_05
อุปกรณ์การทำยาสมัยก่อน
TV_pra_09
ยาลูกกลอน ยังมีขายกันอยู่บ้าง แต่ต้องดูกันให้ดีๆ นะครับ
TV_pra_06
ยานัตถุ์ หมอมี
TV_pra_07
TV_pra_08
TV_pra_10
TV_pra_11
TV_pra_12
TV_pra_13
TV_pra_15
TV_pra_16
ตำรายาสมัยก่อน
TV_pra_14
TV_pra_20
TV_pra_17
TV_pra_18
สักยันต์ ก็มีความหมาย “ทำให้สาวหลง เมียไม่หึง” อันนี้เด็ดจัง
TV_pra_26
TV_pra_22
TV_pra_19
TV_pra_24
TV_pra_21
TV_pra_28
TV_pra_29
TV_pra_25
TV_pra_27
TV_pra_30
TV_pra_31
เป็นผงขัดหน้า สาวๆ จะถูกใจตรงนี้เป็นพิเศษ
TV_pra_32
TV_pra_33
สมุนไพรทั้งนั้น ไม่มีสารเคมี
TV_pra_34
มีจำหน่ายยาสมุนไพร เป็นสูตรโบราณ ถ้าเอาแผนปัจจุบันก็มีจำหน่าย แต่ต้องเป็นที่ตึกใหม่ครับ
TV_pra_35
ปิดท้ายได้ทำยาดม สูตรโบราณ ชอบกลิ่นไหนใส่ได้เองเลยเต็มที่
TV_pra_36
ทำเองกลิ่นก็แปลกๆ เพราะใส่ตามใจชอบเกินไป แต่ก็หอมดีนะครับ
ในร.พ.ยังมีนวดแผนไทย ที่ไว้ใช้รักษาผู้ป่วยด้วย แต่ไม่ได้เข้าไปถ่ายมาให้ดูกัน เท่าทีทราบมาว่าต้องจองกันล่วงหน้าด้วยนะครับ เพราะหมอนวดที่นี้ฝีมือดี คนใช้บริการเยอะ
อีกส่วนที่น่าสนใจคือ ยาแผนปัจจุบันของทางร.พ. แบบที่เราเห็นวางขายตามร้านทั่วไปนั้นแหละครับ มีมากมายหลายสมุนไพร รักษาหลายโรคตามแต่ละชนิด พวกครีม โฟมล้างหน้าจากเปลือกมังคุด ยาอม ยาดม ที่เป็นแบบสมุนไพร ใครที่ชื่นชอบยาสมุนไพร ที่ไม่ได้มีสารเคมีถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีเลยนะครับ

บทความที่ได้รับความนิยม