Wednesday, March 28, 2012

หมู่บ้านญี่ปุ่น

   ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน สามารถเดินทางจากวัดพนัญเชิงไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นอาคารผนวกหมู่บ้านญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางด้านขวามือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีชาวต่างประเทศเข้ามา ค้าขายเป็นจำนวนมาก ญี่ปุ่นเป็นชนชาติหนึ่งที่เดินทางเข้ามาในสมัยนั้น เมื่อทางการญี่ปุ่นอนุญาตให้ชาว ญี่ปุ่นค้าขายกับชาวต่างชาติได้โดยให้มีหัวหน้าปกครองในกลุ่มตน นับแต่นั้นมาชาวญี่ปุ่นก็เข้ามาอาศัยใน กรุงศรีอยุธยามากขึ้น หัวหน้าชาวญี่ปุ่นในขณะนั้นคือ นากามาซา ยามาดาเป็นผู้มีอำนาจและเป็นที่โปรด ปรานของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนได้รับแต่งตั้งเป็นออกญาเสนาภิมุขรับราชการต่อมาจนได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจนสิ้นชีวิต    ปัจจุบันสมาคมไทย-ญี่ปุ่นได้จารึกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านญี่ปุ่นในสมัยกรุงศรี อยุธยามาจัดแสดงไว้ภายในหมู่บ้านญี่ปุ่น และปรับปรุงบริเวณหมู่บ้านให้เป็นอาคารผนวกของศูนย์ศึกษา ประวัติศาสตร์อยุธยา รวมทั้งจัดแสดงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ ความรู้แก่บุคคลทั่วไป    ชาวญี่ปุ่นติดต่อค้าขายกับสยามมาก่อนหน้าการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 โดยผ่านตัวแทนการค้าคือ อาณาจักรริวกิวที่ตั้งอยู่ที่หมู่เกาะโอกินาวา แต่การที่ชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยน่าจะมีชุมชนเล็ก ๆ ของพ่าค้าเรือสำเภาชาวญี่ปุ่น ตั้งคลังรวบรวมสินค้าในช่วงปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา หรือในรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช และค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เนื่องจากมีการค้าขายเพิ่มมากขึ้น    ตามหลักฐานว่าก่อนที่ญี่ปุ่นจะมีปัญหาทางการเมืองและมีการปิดประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2176 มีเรือสำเภาญี่ปุ่นมาค้าขายกับอยุธยา 56 ลำ เฉลี่ยไม่น้อยกว่าปีละ 2 ลำ ประกอบกับปัญหาการเมืองภายในประเทศญี่ปุ่นทำให้มีชาวญี่ปุ่นอพยพมาสู่กรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก ในจำนวนผู้อพยพเหล่านี้มีทั้งกลุมโรนินหรือนักรบที่เจ้านายหมดอำนาจลง และกลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่ถูกกีดกันทางศาสนา  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม